Share

5 มาตรฐานที่การสร้างบ้านต้องมี เพื่ออยู่อาศัยอย่างปลอดภัย

5 มาตรฐานที่การสร้างบ้านต้องมี เพื่ออยู่อาศัยอย่างปลอดภัย

การสร้างบ้านหนึ่งหลังให้สำเร็จสวยงาม และคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะมีความเกี่ยวพันกับหลายองค์ประกอบ โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพและงบประมาณ ดังนั้นจึงต้องมีเกณฑ์กลางซึ่งเป็นที่ยอมรับทุกฝ่ายมาใช้วัดคุณภาพงาน เพื่อให้เงินที่จ่ายไปสัมพันธ์กับปริมาณงานและคุณภาพที่เจ้าของบ้านควรได้รับตามที่ได้ตกลงกันไว้ 

“มาตรฐานการสร้างบ้าน” จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยมีด้วยกัน 5 มาตรฐาน และใครที่กำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านหรู ควรรู้เท่าทันมาตรฐานเหล่านี้ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคัดสรรรายชื่อบริษัทรับสร้างบ้านหรู ที่จะมารับผิดชอบบ้านของเรา

1. มาตรฐานตามกฎหมาย

การก่อสร้างใดๆ ในราชอาณาจักรไทยต้อง “ถูกกฎหมาย” โดยมาตรฐานตามกฎหมายมีด้วยกัน 4 เรื่อง คือ

1.1 มาตรฐานตามกฎหมายผังเมือง

กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะแบ่งพื้นที่พร้อมข้อกำหนดว่าสามารถสร้างอะไรได้ หรือสร้างอะไรไม่ได้บ้าง เช่น บางพื้นที่เป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ห้ามสร้างโรงงาน บางพื้นที่กำหนดความสูงของอาคารที่สามารถสร้างได้

ดังนั้นแม้ที่ดินจะเป็นของเรา แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถสร้างอะไรก็ได้ตามใจ ต้องตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายผังเมืองให้ชัดเจนก่อนเริ่มสร้างบ้าน

1.2 มาตรฐานตามกฎหมายควบคุมอาคาร

กฎหมายควบคุมอาคาร คือ กฎหมายที่ควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคง แข็งแรง มีระบบความปลอดภัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งมีข้อกำหนดองค์ประกอบของบ้านแต่ละหลัง ว่าควรมีการวางตำแหน่งอย่างไร เช่น ระยะร่นจากกำแพง ช่องเปิดหน้าต่าง พื้นที่ว่าง เพื่อให้การสร้างที่อยู่อาศัยเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัย

การสร้างบ้านที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคารจะทำให้ขั้นตอนยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารไม่ได้รับการอนุมัติ ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขให้ถูกต้องอีก

1.3 มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญา

การสร้างบ้านเองเป็นธุรกิจที่ถูกควบคุมโดยสัญญาที่เป็นข้อตกลง และยอมรับกันทั้งสองฝ่าย ระหว่างผู้ว่าจ้าง (เจ้าของบ้าน) กับผู้รับจ้าง (บริษัทรับสร้างบ้าน) โดยในสัญญาจะมีรายละเอียดกำหนดไว้อย่างชัดเจน

1.4 มาตรฐานตามกฎหมายความปลอดภัย

ในการก่อสร้างบ้านหนึ่งหลัง มีการใช้กำลังพล เครื่องไม้เครื่องมือ และเครื่องจักรมากมาย อีกทั้งยังมีฝุ่น และ เสียง จากการก่อสร้างอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมี มาตรฐานกฎหมายความปลอดภัย มาควบคุมระหว่างก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ทำงาน และผู้คนบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้าง

2. มาตรฐานวิชาชีพ

การสร้างบ้านเป็นงานใหญ่ ดังนั้นในการขออนุญาตก่อสร้างจะต้องมีนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมารับรอง คือ สถาปนิก ผู้รับผิดชอบออกแบบบ้าน ที่นอกจากจะสวยงามถูกใจเจ้าของบ้านแล้ว ยังต้องได้มาตรฐานและความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด และอีกคนคือ วิศวกร ที่รับผิดชอบควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรมความแข็งแรง เพื่อให้ได้บ้านที่สวยและแข็งแรง ปลอดภัย

3. มาตรฐานการก่อสร้างที่คนทั่วไปและสากลยอมรับ

มาตรฐานตามวิศวกรรมสถาน เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของโครงสร้างต่างๆ เช่น มาตรฐานเกี่ยวกับคอนกรีต เหล็กเสริมคอนกรีต ความแข็งแรงของโครงสร้าง ซึ่งรวบรวมโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เพื่อทำให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความแข็งแรงปลอดภัยทั้งในระหว่างการก่อสร้างและหลังจากที่อยู่อาศัยไปแล้ว

มาตรฐานสมาคมสถาปนิกสยาม  เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบ้าน เช่น เรื่องของการใช้พื้นที่และการกำหนดความแข็งแรงของอาคาร ทำให้สามารถใช้งานอาคารนั้นได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย

มาตรฐานกรมโยธาธิการ เป็น มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่ใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะสร้างบ้าน เช่น การก่ออิฐต้องมีเสาเอ็นทับหลังทุกระยะกว้างเท่าไร สูงเท่าไร กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

4. มาตรฐานที่เป็นไปตามสัญญา

การสร้างบ้านเป็นงานที่ใช้ระยะเวลาในการสร้างยาวนาน และมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย จึงต้องมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง โดยมีรายละเอียดแบ่งเป็นส่วนต่างๆ คือ

รูปแบบ  มีการกำหนดรูปแบบการสร้าง ขอบเขตงาน ขั้นตอนการก่อสร้าง ขนาดพื้นที่ใช้สอย

รายการวัสดุ (Spec) วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น ซึ่งความแตกต่างมีผลต่อราคา ดังนั้นจึงต้องกำหนดรายการวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างให้ละเอียด เช่น กระเบื้องชนิด ขนาด ยี่ห้อ ซึ่งจะทำให้การสร้างบ้านเป็นไปตามข้อตกลง หากผิดไปจากที่ตกลงไว้จะถือว่าไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสัญญา

รายการ ในสัญญาการก่อสร้างนอกจากจะมีการกำหนดรูปแบบ และ Spec แล้ว จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ไว้ตั้งแต่ต้นจนจบของการดำเนินงานก่อสร้าง

5. มาตรฐานที่เป็นไปตามวัสดุที่ใช้

เนื่องจากวัสดุแต่ละชนิดที่ใช้ในการก่อสร้าง มีคุณสมบัติ ข้อกำหนด วิธีการ และวิธีการติดตั้ง ดังนั้นจึงต้องมี มาตรฐานที่เป็นไปตามวัสดุที่ใช้ เพื่อควบคุมให้ได้วัสดุที่เหมาะสมกับบ้าน ใช้งานถูกต้อง ปลอดภัย คุ้มกับราคาที่จ่ายไป โดยแบ่งย่อยได้ ดังนี้

มาตรฐานของคุณภาพวัสดุ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) เป็นมาตรฐานที่ใช้ควบคุมการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด หากวัสดุนั้นๆ ผ่าน มอก. ก็ถือว่ามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้

คุณสมบัติของวัสดุที่เหมาะสมกับประเภทงาน เป็นมาตรฐานที่กำหนดว่าวัสดุชนิดไหน ใช้อย่างไร และใช้กับงานแบบไหน เพื่อให้ทำงานเต็มศักยภาพที่สุด เช่น การกำหนดวัสดุสำหรับใช้งานภายในบ้าน แต่หากนำไปใช้ภายนอก จะถือว่าผิดวัตถุประสงค์การใช้งาน และไม่ได้มาตรฐานตามคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ

มาตรฐานการติดตั้งของวัสดุ การผลิตวัสดุชนิดต่างๆ ออกมาขายนั้น ทางผู้ผลิตจะมีการทดสอบความสามารถในการใช้งาน แล้วจึงกำหนดคุณสมบัติวัสดุ การใช้ และวิธีการติดตั้งไว้อย่างชัดเจน หากติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน แม้วัสดุจะดีมากขนาดไหน ก็ทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

จากมาตรฐานการทั้ง 5 ข้อ ทำให้เห็นว่าการสร้างบ้านให้สำเร็จ ตรงตามมาตรฐาน เพื่อให้บ้านแข็งแรง ปลอดภัย สอดคล้องเหมาะสมกับงบประมาณที่กำหนดนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องใส่ใจรายละเอียดอย่างมาก หากขาดตกบกพร่องไปในส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบถึงส่วนอื่นๆ ไปด้วย

ดังนั้นควรหามืออาชีพที่เชี่ยวชาญในการรับสร้างบ้านหรู  เพื่อให้บ้านที่สร้างนั้นมีมาตรฐานครบ เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัย

สนใจสร้างบ้านหรูกับ บริษัท อาร์ต เทค โฮม จำกัด

Tel. : 0 2804-1515

E-mail : SALES@ART-TECH.CO.TH

Facebook : arttechhome

Home Style

Share post: