Share

4 เรื่องต้องรู้ สร้างบ้านหรูริมน้ำให้ปลอดภัยและมีมาตรฐาน

4 เรื่องต้องรู้ สร้างบ้านหรูริมน้ำให้ปลอดภัยและมีมาตรฐาน

พลังงานดีๆ ความคิดดีๆ เริ่มต้นจากบ้าน และว่ากันว่าเสียงน้ำ เสียงธรรมชาติ สามารถบำบัดความเครียดได้ ทำให้หลายๆ คนที่ฝันอยากสร้างบ้านพยายามสร้างบรรยากาศให้ใกล้เคียงธรรมชาติ หรือริมน้ำให้มากที่สุด แต่การที่จะสร้างบ้านให้ได้บรรยากาศใกล้เคียงธรรมชาติหรือใกล้ชิดริมน้ำนั้น ก็มีข้อควรระวังตามมาตรฐานวิศวกรรม เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อแหล่งน้ำและผู้อยู่อาศัย รวมถึงข้อกฎหมายด้วย วันนี้ อาร์ต เทค โฮม รับสร้างบ้านหรู นำเอา 4 เรื่องต้องรู้ สร้างบ้านหรูริมน้ำให้ปลอดภัยและมีมาตรฐานมาฝากกันค่ะ

1. บ้านริมน้ำต้องระวังดินสไลด์และการกัดเซาะ

เป็นที่ทราบกันว่าพื้นที่ริมตลิ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นดินอ่อน ไม่จับกันเป็นก้อน ไม่แข็งแรง หากไม่มีกำแพงกั้นน้ำก็จะซัดทำให้ดินทรุดและพังทลายได้ง่าย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำแนวกั้นกันน้ำเซาะตลิ่ง ดังนี้

• เริ่มต้นวัดความลึกของแหล่งน้ำ หากเป็นคลองหรือแม่น้ำก็วัดลึกลงไปถึงพื้นล่างสุดก้นคลอง ระยะความลึกอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 4 เมตร นำตัวเลขความลึกที่ได้ไปคูณกับเลขปัจจัยตัวประกอบที่ 1.25 – 1.5 เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วเอามาบวกกับระดับความสูงคลองเดิมที่วัดได้ เพื่อหาความยาวของเสาเข็มที่จะต้องใช้ ดังตัวอย่างสมการ

เมื่อให้ a เป็น ความลึกที่วัดได้ a + ( a x 1.25 ) = ความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้ว (ค่าตัวเลขไม่เกิน 10 เมตร)

• ควรเลือกใช้เสาเข็มรูปตัวไอ ( I – Section ) เพราะเราจะไม่ต้องก่ออิฐทำกำแพงรั้วซ้ำอีก การใช้เสาเข็มรูปตัวไอทำให้เราสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปลงในช่องว่างร่องเข็มได้ ปรับเปลี่ยนให้เป็นรั้วกันกำแพงดิน ป้องกันการพังทลายได้ทันที และเสาเข็มชนิดนี้ยังมีสมบัติการรับแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสได้สูงกว่าแบบอื่นๆ

แบบบ้านหรู

2. ศึกษาเรื่องระยะร่นแหล่งน้ำสาธารณะ

ควรตรวจสอบแนวเขตของเราให้ชัดเจนและดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ล้ำพื้นที่ของหลวง เพราะหากล้ำออกมากเกินแนวเขตพื้นที่ในคลองหรือแม่น้ำ กรมเจ้าท่ามีสิทธิ์ร้องเรียนหรือสั่งหยุดการก่อสร้างได้ทันทีเพราะกรมเจ้าท่าดูแลพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำทั้งหมด และถือเป็นกรรมสิทธิ์พื้นที่ของหลวง การก่อสร้างจะต้องมีเรื่องของกฎหมายเรียกว่า set-back ระยะถอยร่นอาคาร ดังนี้

• อาคารต้องถอยจากเขตน้ำสาธารณะ

– สำหรับแหล่งน้ำ คูคลอง ลำประโดง เเม่น้ำ กว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องถอยอาคารอย่างน้อย 3 เมตร

– สำหรับเเหล่งน้ำกว้างกว่า 10 เมตร ต้องถอยอาคารอย่างน้อย 6 เมตร

– สำหรับเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่อย่างเช่น ทะเลสาบ ทะเล เช่น กว๊านพะเยา อ่าวไทย ต้องถอยอาคารอย่างน้อย 12 เมตร นับที่ระดับน้ำขึ้นปกติสูงสุดประจำวัน

***ยกเว้นการสร้างสะพาน รั้ว ท่อระบายน้ำ ท่าเรือ เขื่อน ป้าย อู่เรือ เป็นต้น ที่ไม่ต้องถอย***

• พื้นที่ริมเเม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งส่วนใหญ่

– ควรถอยห่างภายใน 3 เมตร จากริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ยกเว้นการสร้างเขื่อน อุโมงค์ ทาง รั้ว กำแพง

– ควรถอยห่างภายใน 3 เมตร ไม่เกิน 15 เมตร จากริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง และสามารถก่อสร้างอาคารสูงไม่เกิน 8 เมตร (ไม่ใช่ห้องแถวหรือตึกแถว)

– ควรถอยห่างภายในระยะ 15 เมตร ไม่เกิน 45 เมตร จากริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง สามารถสร้างอาคารความสูงไม่เกิน 16 เมตร

3. ตรวจวัดระดับน้ำขึ้นสูงสุด

สังเกตรอยขอบน้ำ ตะไคร่ ตามบริเวณเสา หรือ กำแพงจะมีรอยเส้นน้ำสูงสุดให้สังเกต หรือขอข้อมูลได้จากกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ http://www.hydro.navy.mi.th/  เพื่อวางแผนการถมดินเพิ่มป้องกันน้ำท่วม ยิ่งพื้นที่ริมตลิ่งจะต้องบดอัดดินเพิ่มความหนาแน่นมากกว่าพื้นที่ที่จะสร้างบ้าน ส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรมองข้าม

แบบบ้านหรู


4. ทิศทางของแหล่งน้ำ

ทิศทางที่เหมาะสมที่สุดคือทิศใต้ เพราะเป็นทิศทางที่ลมจะพัดพาละอองน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้มีลมเย็นสบาย ถ้าแหล่งน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกของบ้าน จะเป็นทิศที่รับแสงแดดเข้าโดยตรง และไม่ควรสร้างบ้านติดน้ำมากเกินไป เพราะจะได้รับผลกระทบจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนพื้นน้ำ กลายเป็นกระจกสะท้อนแดดสาดเข้ามาในบ้าน ทำให้รู้สึกอบอ้าว ต้องมีต้นไม้ใหญ่เพื่อลดทอนแสง หรือออกแบบให้สอดคล้องกับทิศทาง

ทำเลคือหนึ่งในเหตุผลที่คนอยากมีบ้านคำนึงถึง คนเมืองส่วนใหญ่ตกหลุมรักทำเลริมน้ำเพราะให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลาย และยอมจ่ายเพื่อเป็นรางวัลให้กับตัวเอง จึงไม่แปลกหากจะพิถีพิถันในการออกแบบบ้านหรือสรรหาวัสดุที่ถูกใจ และไม่ว่าจะเป็นการสร้างเอง หรือ บริษัทรับสร้างบ้านหรู ต่างก็ต้องคำนึงถึง 4 เรื่องใหญ่ๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อความปลอดภัย ไม่ละเมิดแหล่งน้ำสาธารณะ และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยตัดปัญหาในอนาคตได้

สนใจสร้างบ้านหรูกับ บริษัท อาร์ต เทค โฮม จำกัด

Tel. : 0 2804 1515

E-mail : SALES@ART-TECH.CO.TH

Facebook : arttechhome

Home Style

Share post: