เตรียมพร้อมที่ดินอย่างไร ก่อนสร้างบ้าน
ก่อนสร้างบ้านทุกครั้ง บริษัทรับสร้างบ้าน จะแนะนำสิ่งที่เจ้าของต้องเตรียมพร้อมและจัดการเป็นอันดับต้นๆ คือ การเตรียมที่ดินที่จะใช้สร้างบ้าน
หากเมื่อมีที่ดินแล้ว ก็ใช่ว่าจะสามารถปลูกสร้างบ้านได้เลย เพราะพื้นที่นั้นอาจยังไม่มีสภาพที่เหมาะสมพร้อมสร้าง และเจ้าของบ้านต้องสำรวจสภาพแวดล้อม ประวัติที่ดิน ตลอดจนถึงการถมที่ดิน และบดอัดเพื่อให้ชั้นดินมีความแน่นมากพอที่จะรองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง ป้องกันปัญหาการทรุดภายหลัง
การเตรียมพร้อมที่ดินก่อนสร้างบ้าน แน่นอนว่านอกจากการมีที่ดินสำหรับสร้างถูกต้องตามกฎหมาย และเจ้าของบ้านมีสิทธิสร้างในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การเตรียมที่ดิน และการสำรวจที่ดิน หากพื้นที่นั้นมีเศษซากอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอยู่ ให้รื้อของเดิมออกจนถึงชั้นฐานราก
หรือหากพื้นที่ดินอยู่ในระดับต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบ และต่ำกว่าถนน จะเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วม จึงต้องดำเนินการถมที่ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของการเตรียมที่ดินก่อนสร้างบ้าน
มาดูกันว่า การถมที่ดินนั้น มีขั้นตอนลัจจัยอะไรต้องคำนึงถึงบ้าง
การถมดินก่อนสร้างบ้าน
การถมดินเป็นการยกระดับความสูงของพื้นที่ที่จะสร้างบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม และช่วยให้การวางท่อระบายน้ำอยู่ในระดับที่สูงกว่าถนน โดยการถมที่ดินควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ
1. ลักษณะพื้นที่ที่จะถมดิน
● การสังเกตต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินแปลงนั้นเพื่อดูว่าเป็นดินแห้งหรือมีความชื้นแฉะ โดยต้นไม้ที่สังเกตได้คือ พื้นที่ที่มีต้นกระถิน มะขามเทศขึ้นแสดงว่าบริเวณนั้นพื้นดินมีลักษณะแห้ง แต่ถ้าเป็นต้นกก ต้นอ้อ และธุปฤาษี ขึ้นอยู่แสดงว่าพื้นที่นั้นมีลักษณะชื้นแฉะ ดินมีความอ่อนตัวสูง
● การสำรวจประวัติพื้นที่ดิน โดยสอบถามสภาพพื้นที่จากผู้อยู่อาศัยรอบๆ เกี่ยวกับการเกิดน้ำท่วม มีความสูงเท่าไร ใช้เวลากว่าจะแห้งนานหรือไม่
2. ความสูงของพื้นที่ที่จะถม
สำหรับที่ดินทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระดับต่ำกว่าถนนมากนัก ควรถมดินให้มีความสูงกว่าถนนประมาณ 50-100 ซม. โดยการถมดินแต่ละครั้งควรถมเผื่อไว้สำหรับการยุบตัวของดินด้วย เช่น หากต้องการให้ดินสูงกว่าระดับเดิม 60 ซม. ก็ให้ถมสูงเผื่อไว้ประมาณ 80-100 ซม.
3. ระยะในการเวลาทิ้งดินที่ถมไว้
พื้นที่ที่ถมดินเรียบร้อยแล้ว หากดินยังไม่ยุบตัวดีจนพร้อมสร้างบ้าน ควรเว้นระยะการถมทิ้งไว้ 6-12 เดือน เพื่อให้ดินยุบตัว หรือถ้าเวลาไม่พออาจต้องใช้รถบดอัดดินช่วยร่นเวลาได้
แต่สำหรับบ้านที่ต้องการถมดินแล้วปลูกสร้างบ้านเลย ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ดินก่อนด้วยวิธีการต่างๆ คือ
● เก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ไปตรวจสอบหาค่าเซ็ตตัวของดิน
● คำนวณหาน้ำหนักบ้านทั้งหลัง
● หาจำนวนและขนาดของเสาที่รองรับน้ำหนักบ้าน
4. การขออนุญาตถมดิน
การขออนุญาตเป็นการดำเนินการสำหรับการถมที่ดินที่มีขนาดตั้งแต่ 1 ไร่ 1 งาน หรือ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องดำเนินการขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆ เช่น อบต. เทศบาล เขต แต่ถ้าพื้นที่น้อยกว่าขนาดดังกล่าวก็ไม่ต้องขออนุญาต
ประโยชน์ของการถมดิน
● ช่วยลดปัญหาน้ำท่วม หรือน้ำจากพื้นที่รอบๆ ไหลเข้าบ้าน เช่น น้ำจากหนอง คลอง บึง หรือจากท่อระบายน้ำ
● หากในอนาคตมีการปรับระดับถนนให้สูงขึ้น จะช่วยทำให้บ้านไม่อยู่ต่ำกว่าถนนจนเกินไป และไม่เป็นปัญหาในภายหลัง
● ทำให้บ้านดูโดดเด่น สะดุดตา ไม่ถูกบดบังจากสิ่งแวดล้อมมากนัก
ข้อควรพิจารณาเมื่อถมดินสร้างบ้าน
● ควรเคลียร์เคศขยะ เศษใบไม้ และเศษอิฐออกจากพื้นที่ให้หมด เพื่อให้การบดอัดดินแน่นดียิ่งขึ้น ไม่มีโพรงในดิน
● ดินที่ใช้ถมควรเป็นดินแห้ง เพื่อลดการทรุดตัว และลดระยะเวลาการเซ็ตตัวของดิน
● ควรใช้รถบดอัดดินให้แน่นในทุกระยะของการถม 50 ซม. ก่อนจะถมในชั้นต่อไป
ภาพประกอบบทความ :
แบบบ้านโมเดิร์น AT-1002
รายละเอียดแบบบ้าน AT-1002 คลิก!
แบบบ้านโมเดิร์น AT-507
รายละเอียดแบบบ้าน AT-507 คลิก!
แบบบ้านโมเดิร์น AT-901
รายละเอียดแบบบ้าน AT-901 คลิก!
สนใจสร้างบ้านหรูกับ บริษัทรับสร้างบ้าน อาร์ตเทคโฮมจำกัด
Tel. : 02-804-1515
E-mail : SALES@ART-TECH.CO.TH
Facebook : arttechhome
Home Style